วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning record 10



💚บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10💚
วันศุกร์ ที่ 24 เวลา 11.30 - 15.30 น.




เนื้อหาที่เรียน




💧บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์💧
1. การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
2. การจัดกิจกรรมหรือการจัดประสบการณ์
3. การวัดประเมินผล
4. ให้ความสนใจเด็ก
5. การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์ สื่อวัสดุอุปกรณ์

💧คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย💧
1. มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2. เป็นแหล่งความรู้และมีความรอบรู้ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
3. ความสนใจรอบด้านครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ควรมีความสนใจกว้างรอบด้านสนใจกิจกรรมต่างๆ หลายๆ อย่างและไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ 
4. อารมณ์ขัน อารมณ์ขันเป็นลักษณะสำคัญของคนมีสุขภาพจิตดีและช่วยความคิดอ่าน
5. สุขภาพอนามัย สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเป็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับครู
6. คุณสมบัติส่วนตัวของครูสอนเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ ควรเป็นคนที่มีรสนิยมดีการแต่งกายประณีต สวยงาม เหมาะสมกับวัย

🍒การสอนเพื่อส่งเสริมความคิดส่งเสริมความสร้างสรรค์🍒
1. จัดกิจกรรมให้เด็กเรียนรู้แบบระดมพลังสมอง (Brainstorming)
2. ให้เด็กเรียนรู้การสร้างสรรค์โดยการลงมือปฏิบัติจริง เน้นการสร้างสภาวะสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดการตอบสนองหลายรูปแบบ
3. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผนหรือกำหนดกิจกรรมที่ต้องการเรียนรู้
4. เปิดโอกาสให้เด็กนำเสนอผลงานทุกคน
5. ส่งเสริมให้เด็กแสดงความคิดหลากหลายด้านตลอดจนการแสดงออกทางอารมณ์
6. ส่งเสริมความสามารถที่จะนำไปสู้การคิด การกระทำอย่างสร้างสรรค์



🍭สื่อที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์🍭
ดินเหนียว/ ดิน
 เด็กสามารถนำมาใช้ในการปั้นเพื่อให้เกินรูปทรงตามจินตนาการของเด็ก ได้ใช้กล้ามเนื้อมือในการบีบ  นวด

เปลือกไข่ /กะลามะพร้าว
สามารถนำเปลือกไข่มาสร้างเป็นรูปสัตว์ต่างๆ กะลามะพร้าวสามารถนำมาสร้างเป็นกระถางต้นไม้


เปลือกหอย

เด็กสามารถนำเปลือกหอยมาสร้างสรรค์เป็นสัตว์ต่างๆ เช่นผีเสื้อ  หรือนำเปลือกหอยมาเพ้นภาพตามจินตนาการ
ส่วนต่างๆของพืช /  ก้อนหิน

นำกิ่งไม้ ใบไม้นำมาตกแต่งงานศิลปะและก้อนหินสามารถนำมาแปลงเพ้นรูปภาพบนก้อนหิน

Learning record 9


💚บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่่8💚 

                                                         วันที่ศุกร์ 10 เวลา 12.30 - 15.30 น


เนื้อหาที่เรียน  




💓สมองกับความสำคัญ💓
หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของคนทำงานยุคใหม่ คือ การปลดปล่อยพลังสมองออกมา
การเคลื่อนไหวกับการกพัฒนาสมอง
การบริหารสมองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกายกับการทำงานของสมอง
     

💙การทำงานของสมอง💙
 สมองเปรียบเสมือนแผงสวิซส์ฟฟ้าที่สลับซับซ้อนอยู่ในกระโหลกศรีษะ เป็นไขมัน มีเยื่อหุ้มอยู่ด้านนอกบรรจุเซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านเซลล์ เรียกว่า นิวโรน



💛ความสำคัญของการพัฒนาสมอง💛
 -เป็นรากฐานของการพัฒนาสมองทั้งปวง
 -เป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน
 -เป็นช่วงเวลาสำคัญและจำเป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง
 -เป็นลงทุนที่คุ้มค่า
 -สังคมต้องการคนดีและคนมีความคิดสร้างสรรค์ คนเก่งมีความสามารถฉลาด ทางอารมณ์
- มนุษย์ใช้ประโยชน์ของสมองเพียง 10%
 -สมองได้ถูกกำหนดให้โง่

💜โครงสร้างและการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้💜

     สมองซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้คือ สมองใหญ่มี 2 ซึก ได้แก่ สมองซีกซ้าย/สมองซีกขวาและมีการเชื่อมโยงกัน
1. สมองส่วนหน้าทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ การจำ การเรียนรู้ ความฉลาดความคิดอย่างมีเหตุผล ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขาและใบหน้า
2. สมองส่วนข้าง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกสมองซีกซ้ายรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางขวา สมองซึกขวารับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางซ้าย (จากมือ/แขน/เท้า)
3. สมองส่วนขมับ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน และถ้าลึกเข้าไปจะทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาว

เคลื่อนไหวตามจินตนาการประกอบอุปกรณ์ (ริบบิ้น) 
นวคิด
การทำกิจกรรมตามข้อตกลงร่วมกันเพื่อนๆได้โดยใช้อุปกรณ์

วัตถุประสงค์

1.ฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
2.ปฏิบัติตามคำสั่งและข้อตกลง
3.ฝึกทักษะการสังเกต

กิจกรรม
1.เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์อย่างอิสระตามจินตนาการ ประกอบจังหวะหรือเสียงเพลง
2.เด็กจับกลุ่มๆละ 5-6 คนตามสีของริบบิ้น
3.ด็กนำริบบิ้นวางเป็นรูปทรงต่างๆอย่างอิสระตามจินตนาการ

สื่ออุปกรณ์

1.ริบบิ้น
2.เครื่องเคาะจังหวะ
3.เพลง

การประเมินผล

1.สังเกตจากการทำกิจกรรม
2.สังเกตจากการปฏิบัติตามข้อตกลง
ข้อเสนอแนะ
ให้เด็กจับคู่เคลื่อนไหวพร้อมๆกัน

👉 หลังจากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ 2 อย่างคือ ทำคลิปโยคะสำหรับเด็กและคลิปเพลงท่าเต้นสำหรับเด็ก👈








ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจทำงานส่งอาจารย์
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำงานส่งครบทุกคน
ประเมินอาจารย์ ให้คำแนะนำในการทำสื่อดี

Learning record 8




💚บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่่8💚 
วันที่ศุกร์ 10 เวลา 12.30 - 15.30 น





เนื้อหาที่เรียน  



   อาจารย์ให้เตรียมกระดาษคนละ 2 แผ่น ในการทำกิจกรรม
งานชิ้นที่ 1 วาดภาพออกแบบความคิดสร้างสรรค์จากตัวเลข 1-9 
งานชิ้นที่ 2 ตัดกระดาษเป็นรูปเรขาคณิตแล้วนำมาต่อกันตามจินตนาการ






👧👨  เพลงสำหรับเด็ก 👧👨 


                       เพลง หนึ่งปีมี 12 เดือน 
       หนึ่งปีนั้นมี 12 เดือน   อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
 หนึ่งสัปดาห์นั้นมี 7วัน      อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์


                      เพลงสวัสดียามเช้า
     ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า   อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
    กินอาหารของดีมีทั่ว          หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน
    สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ           ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน
     หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า



ประเมินตนเอง: วันนี้ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนค่ะ  ทำกิจกรรมร่วมด้วย
ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนๆตั้งใจเรียนค่ะแต่อาจจะมีบางกลุ่มคุยกันเสียงดังบ้าง


ประเมินอาจารย์: อาจารย์สอนรู้เรื่ิองเข้าใจค่ะ และมีกิจกรรมที่น่าสนใจ

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning record 7



💚บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่่💚 
วันที่ศุกร์ที่ 3 เวลา 12.30 - 15.30 น




เนื้อหาที่เรียน

วันนี้อาจารย์สั่งงานให้นักศึกษาหากิจกรรมวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็ก



ก๊าซเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นแต่เรารู้ว่ามันเกิดขึ้นและมีอยู่ได้โดยจับมันไว้ในลูกโป่ง  อย่างการทดลองนี้ไง
สิ่งที่ต้องใช้
  • ขวดแก้วเตี้ย อย่างขวดน้ำส้มสแปลช 1 ขวด
  • ลูกโป่ง 1 ใบ
  • ผงฟู (เบกกิ้งโซดา) 5 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
  • เป่าลูกโป่งให้ยืดตัวก่อนทดลองสัก 2 รอบ
  • ใส่เบกกิ้งโซดา ลงในขวดแก้ว
  • เติมน้ำส้มสายชูลงไป
  • ครอบลูกโป่งลงบนปากขวด
เพราะอะไรกันนะ
            เมื่อเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นก๊าซเบากว่าอากาศ จึงลอยสูงขึ้น เมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้  
เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า  โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่า ผงฟู นั่นเอง

🌴การวัดผลประเมินผล🌴


1. ความคิดริเริ่ม  สังเกตจาก การเล่นลูกโปร่งอย่างอิสระโดยที่ครูไม่ต้องแนะนำใขในตอนแรก

2. ความคิดคล่องแคล่ว สังเกตจาก ความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม และการตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงวิธีการที่ได้จากความคิดนั้น เช่น นักเรียนมีวิธีการอื่นอีกไหมที่จะทำให้ลูกโปร่งลอย ให้เด็กตอบคำถามพร้อมทั้งแสดงวิธีการนั้น

3. ความคิดยืดหยุ่น  สังเกตจาก การคิดหาวิธีการที่จะทำให้ลุกโปร่งลอยและพองลักษณะต่าง ๆ ที่มีความหลากหลายไม่ซ้ำกัน

4. ความคิดละเอียดลออ สังเกตจาก การตอบคำถาม การอธิบายและให้เหตุผลในการเลือกใช้วิธีการนั้น ๆ ในการปฏิบัติกิจกรรม เช่น เพราะเหตุใดถึงเลือกวิธีการนั้น


ระเมินตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา  ตั้งใจทำงานส่งอาจารย์
ประเมินเพื่อน เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังและทำงานส่งครบทุกคน

ประเมินอาจารย์ อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่างๆ ได้ดีและให้คำแนะนำในการทำสื่อดี